Ulti Clocks content
สถิติผู้เยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้463
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้1132
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้7620
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว9162
mod_vvisit_counterเดือนนี้23425
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว35164
mod_vvisit_counterทั้งหมด1532191

ออนไลน์ (20 minutes ago): 4
ไอพี: 18.207.133.13
,
วันที่: 19 ก.ย., 2024
Daily Forecast

 


ตัวออย่างปี2562ขอบคุณ 

 

ตามรอยอารยธรรมล้านช้าง

ดัชนีบทความ
ตามรอยอารยธรรมล้านช้าง
ประเทศลาว
ทุกหน้า
 

 

หอพระแก้ว คือสถานที่เคยประดิษฐาน พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงเทพมหานครในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นผู้อัญเชิญ

แต่เดิมหอพระแก้วนั้นเคยเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากนครเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป  ยังกรุงเทพฯ

 สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2480 - 2483 ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของ เจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้วปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก็ยังเดิน ทางมาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในแขวงเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1 ใบ อาณาบริเวณรอบๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมมาก่อน

ประตูชัย (Patu Xay) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์บนถนนล้านช้างไปสิ้น สุดที่บริเวณประตูชัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์

 

ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่าง สงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวันให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ บนยอดของประตูชัยอีกด้วย ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้นๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้น ชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน

พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งนครหลวงเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่าง แยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็น ภาพประธานในดวงตรา

 

ตำนานการสร้างพระธาตุ

 ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า 27 พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ 5 วา ผนังหนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนคร เวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์นั้นด้วย ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 238

ในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติ ศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมา ดังปรากฏการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดาวลาวฉบับต่างๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2109 หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ 6 ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า "พระธาตุ เจดีย์โลกจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า “พระธาตุหลวง”) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน

 



แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2022 เวลา 20:23 น.)

 
รวมลิงค์เกษตร
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ราคาน้ำมันปตท.วันนี้