Ulti Clocks content
สถิติผู้เยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2271
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้936
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้5255
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว11037
mod_vvisit_counterเดือนนี้35653
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว38412
mod_vvisit_counterทั้งหมด1346770

ออนไลน์ (20 minutes ago): 20
ไอพี: 3.144.84.155
MOZILLA 5.0,
วันที่: 24 เม.ย., 2024
Daily Forecast

 


ตัวออย่างปี2562ขอบคุณ 

 

อ.บุญลือ เก็บมาเล่า iPhone 12, pro Max - 2

ดัชนีบทความ
อ.บุญลือ เก็บมาเล่า iPhone 12, pro Max
ท้องฟ้า
2
ทุกหน้า

 

ทำไมคนเราจึงดื่มน้ำทะเลไม่ได้ ?

นกทะเลและสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดจะมีต่อมพิเศษ สำหรับถ่ายเกลือออกจากร่างกายโดยเฉพาะนกนางนวลสามารถดื่มน้ำทะเลได้ถึง 10% ของน้ำหนักตัว และสามารถกำจัดเกลือที่มีมากเกินไปได้ภายในเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้ามนุษย์จำเป็นต้องดื่มน้ำทะเลในสัดส่วนเท่านกคือ 2 แกลลอน ( 7.56 ลิตร )น้ำจะถูกดูดออกจากร่างกายเนื่องจากความพยายามที่จะกำจัดเกลือที่มีมากเกิน ไปออกจากร่างกาย ไม่มีสัตว์ชนิดใดมีเกลือสะสมอยู่ในร่างกายได้เกินร้อยละ 0.9 เกลือที่มีมากเกินกว่าปริมาณนี้ จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ไตของมนุษย์ไม่สามารถกำจัดเกลือที่มีอยู่ในปัสสาวะได้เกินกว่าร้อยละ 2.2 ดังนั้น มนุษย์จึงไม่สามารถดื่มน้ำทะเลซึ่งมีเกลือผสมอยู่ถึงร้อยละ 3.5 ได้ ม้าสามารถกำจัดเกลือที่มีอยู่ในปัสสาวะได้เพียงร้อยละ 1.5 เนื่องจากไตไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ม้าจึงไม่สามารถดื่มน้ำกร่อยซึ่งมนุษย์สามารถบริโภคได้

ทำไมท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ?

แท้จริงแล้วท้องฟ้าเองไม่มีสี แสงสีฟ้าที่เห็นเกิดจากสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงอาทิตย์ โฟตอนของแสงสีฟ้ามีพลังงานมากกว่าโฟตอนของแสงสีอื่น จึงทำให้มันชนอะตอมอื่นออกไปได้มากกว่าและเคลื่อนลงต่ำมาเข้าตาเรา ดังนั้นเมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราเลยเห็นโฟตอนแสงสีฟ้ามาก ทำให้เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า แต่สีของดวงอาทิตย์ขณะลับขอบฟ้าไม่ได้เป็นสีฟ้า เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ลดต่ำลง เราจะเห็นแสงอาทิตย์ส่องเป็นมุมผ่านฝุ่นสกปรกในอากาศ ฝุ่นละอองเหล่านี้จะสะท้อนโฟตอนสีฟ้าส่วนใหญ่ออกไปก่อนที่แสงจะมาเข้าตาเรา จึงทำให้เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีส้ม ๆ แดง ๆ

รูปทรงที่แท้จริงของรุ้งกินน้ำ

เวลามองดูรุ้งกินน้ำ เคยคิดไหมว่ารุ้งกินน้ำมีรูปร่างที่แท้จริงเป็นอย่างไร ? เมื่อแสงแดดกระทบละอองน้ำจะหักเหออกมาเป็นแสง 7 สี อย่างที่เรารู้กันอยู่นั้นรุ้งจะมีรูปร่างเป็นวงกลม ขณะที่เรายืนอยู่ที่พื้นแสงที่หักเหเข้าสู่ตาเราจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย โดยมีตาของเราเป็นจุดยอดของกรวยและมีตัวรุ้งกินน้ำเป็นเส้นรอบวงของฐานกรวย คือสีแดง ทิศทางของแสงที่หักเหเข้าสู่ตาจะทำมุม 42 องศากับแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบละอองน้ำพอดิบพอดี ส่วนแสงอื่น ๆ จะอยู่ถัดจากสีแดงเข้าไป ภายในมุมก็จะน้อยลงไปตามลำดับถ้าอย่างนั้น ทำไมเราไม่เห็นรุ้งเป็นวงกลมล่ะ ? คำตอบก็คือ เห็นได้ ถ้าเราขึ้นไปดูรุ้งบนอากาศอย่างเช่นในเครื่องบิน การที่เราอยู่บนอากาศละอองน้ำทั้งที่อยู่เหนือและใต้ตัวเราจะช่วยกันหักเห แสงให้เราเห็นรุ้งเป็นวงกลมได้ แต่ตอนที่เราอยู่บนพื้นดินมีแต่ละอองน้ำส่วนเหนือเราเท่านั้นที่หักเหแสงเรา จึงเห็นรุ้งเป็นเส้นโค้งเท่านั้น

เคล็ดลับการเลี้ยวโค้ง

เวลาที่เซียน BMX หรือโมโตครอสจะทิ้งโค้ง คุณคงสังเกตเห็นว่าตอนแรกเขาจะหักออกในด้านตรงข้ามกับโค้งนิดหน่อยแล้วจึง หักเข้าโค้ง และในขณะเลี้ยวโค้งรถจะเอียงไปในทิศทางที่ต้องการเลี้ยว ซึ่งพร้อม ๆ กันนั้นเองแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวก็จะเหวี่ยงคนขับให้ออกไปทางด้านตรงข้าม กับทิศที่ต้องการจะเลี้ยว การเลี้ยวโดยหักหน้ารถออกทางด้านตรงข้ามก่อนนั้นมีโมเมนตัมผลักล้อหน้า ทำให้รถเอียงไปในทางที่ต้องการเลี้ยวได้ง่ายขึ้น ตามกฎของโมเมนตัมเชิงมุมแสดงให้เห็นว่าล้อหน้าที่หมุนเร็วจี๋อยู่นั้นทำ หน้าที่เสมือนไจโจสโคป ซึ่งจะมีแรงต้านการบิดตั้งต้นเนื่องจากการหักเลี้ยวครั้งแรก เมื่อหักออกจากโค้งก่อนแรงต้านที่ว่านี้จะส่งไปในทิศทางที่เราจะเลี้ยวพอดี ทำให้เราหักเลี้ยวกลับเข้าโค้งได้ดีขึ้น ถ้าเราหักเข้าโค้งโดยไม่หักออกก่อนจะเป็นอย่างไร ? เราก็ต้องเอียงตัวแรงขึ้นเพื่อให้รถเอียงเข้าโค้ง แรงไจโรสโคปิกก็จะต้านการเลี้ยวทำให้คนขับต้องหักรถกลับเร็วขึ้นเพื่อไม่ให้ รถล้ม ยิ่งรถวิ่งเร็วเท่าใดปรากฏการณ์นี้จะชัดยิ่งขึ้น ในการเลี้ยวแนวล้อหน้าและหลังจะไปตามกันโดยล้อหน้าจะต้องกว้างกว่าล้อหลัง เมื่อล้อหน้ากลับตั้งตรงการเลี้ยวก็จะสิ้นสุดลง ถ้าเอียงตัวมากไปรถจะล้มอย่างแน่นอน

ทำไมเราจึงปวดฟัน ?

ครั้งหนึ่งในชีวิตของเราคงต้องเคยปวดฟันบ้างเป็น แน่ โดยเฉพาะถ้ามีฟันผุอยู่เวลารับประทานของหวานจะปวดฟันจนน้ำตาไหลทีเดียว รู้ไหมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ก่อนจะอธิบายสาเหตุของการปวดฟัน เราลองมาทำการทดลองนี้ก่อน นำหัวผักกาดมาหัวหนึ่ง เจาะตรงกลางให้เป็นโพรง จากนั้นเทน้ำตาลข้น ๆ ลงไปในโพรงแล้วปิดด้วยจุกคอร์กที่มีหลอดแก้วกลวงเสียบอยู่ นำหัวผักกาดนี้แช่ลงในอ่างน้ำ สักครู่หนึ่งจะเห็นน้ำในอ่างซึมผ่านเนื้อหัวผักกาดเข้าไปในโพรงที่มีน้ำตาล อยู่ ปรากฏการณ์ที่น้ำซึมผ่านเนื้อเยื่อไปยังน้ำตาลซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่านี้ เรียกว่า ออสโมซิส (OSMOSIS) น้ำจะซึมไปเรื่อย ๆ จนระดับความกดดันที่ผิวทั้งสองข้างของเนื้อเยื่อเท่ากัน ระดับน้ำในหลอดแก้วกลวงจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามแรงดันออสโมซิส จากการทดลองนี้สามารถนำมาอธิบายเรื่องการปวดฟันได้เป็นอย่างดี สมมติว่าหัวผักกาดที่มีโพรงนั้นเป็นฟันผุ เมื่อเรารับประทานของหวาน น้ำตาลจะไปขังอยู่ในรูของฟัน ทำให้เกิดการออสโมซิสของน้ำจากประสาทฟันเข้าสู่โพรงฟัน และทำให้เกิดแรงกดดันออสโมซิสขึ้นที่ฟันซี่นั้น ความกดดันนี้เองทำให้เราปวดฟัน วิธีแก้ปวดก็คือไปอุดฟันหรือถอนฟันซี่นั้น

ของหวานทำให้ฟันผุได้อย่างไร ?

น้ำตาลทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคเหงือก แต่ปริมาณยังสำคัญน้อยกว่าจำนวนครั้งที่รับประทานเข้าไป ฉะนั้นการประนีประนอมระหว่างการตามใจตัวเองกับการป้องกันฟันผุก็คือ พยายามลดการรับประทานขนมหวานให้เหลือเพียงวันละครั้งเดียว น้ำตาลธรรมดาหรือซูโครส (sucrose) เป็นอาหารโปรดของ "แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ" ซึ่งเราได้ยินเสมอ ๆ ในโฆษณายาสีฟันยี่ห้อต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อแบคทีเรียพบซูโครสในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆจะสร้างสารเหนียวเรียกว่า เด็กซ์แทรน (dextrans) ซึ่งเกาะติดแน่นกับฟัน แบคทีเรียนี้จะเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กลายเป็นแผ่น คราบบนตัวฟันหรือพลัก (plague) แบคทีเรียชนิดอื่นจะเข้าไปอาศัยอยู่ในพลัก และเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นกรด กรดจะทำลายเคลือบฟันจนหมดสิ้น ต่อจากนั้นก็จะทำลายแคลเซียมภายในฟันและทำให้ฟันโบ๋เป็นโพรง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดนี้ จะเริ่มต้นทำงานเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากการรับประทานน้ำตาลเข้าไปและเมื่อ เกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วการสร้างกรดก็มักจะดำเนินต่อไปอีกนาน ดังนั้นฟันผุจึงมักเกิดขึ้นภายหลังจากรับประทานขนมหวานเข้าไปนานแล้ว นี่เป็นคำอธิบายว่า ทำไมการรับประทานขนมหวานบ่อย ๆ ถึงทำให้ฟันผุ นอกจากพลักจะเป็นศัตรูสำคัญของฟันแล้ว ยังทำอันตรายต่อเหงือกและกระดูกที่ยึดฟัน เริ่มด้วยการสะสมพลักบนตัวฟันและรอบ ๆ แนวเหงือก แบคทีเรียที่อยู่ในพลักจะทำให้เกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดความระคายเคืองแก่ เหงือกและทำให้เลือดออก เมื่อเวลาผ่านไปแบคทีเรียที่อยู่ใกล้ส่วนนอกของฟันมากที่สุดจะตายกลายเป็น หินปูนที่เกาะรอบตัวฟัน ซึ่งจะถูกปกคลุมด้วยชั้นของพลัก ที่มีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่อีกทีหนึ่ง ต่อมาเส้นใยที่เชื่อมต่อเหงือกกับฟันจะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่เต็มไปหมด ในที่สุดก็จะทำลายกระดูกฟันที่ยึดฟันทำให้ฟันโยก ในภาวะนี้ฟันจะผุและติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย อาการที่เห็นบ่อยที่สุดก็คือ เหงือกบวมและเลือดออกง่าย พลักเป็นโรคที่ซ่อนตัวอยู่ เนื่องจากโปร่งใสและไม่มีสี นอกจากกรณีที่เป็นชั้นหนามาก ๆ จึงมองเห็นเป็นแผ่นสีขาว ๆ เมื่อทันตแพทย์กำจัดพลักและหินปูนที่เกาะตามไรฟันออกหมดแล้ว เราอาจป้องกันไม่ให้เกิดได้อีกโดยแปรงฟันเป็นประจำ กล่าวคือกำจัดแผ่นคราบที่เกาะอยู่รอบนอกฟันทุกซี่อย่างน้อยที่สุดวันละหนึ่ง ครั้ง ถ้าจะให้ดีควรเป็นเวลาก่อนเข้านอน ทันตแพทย์แนะนำให้แปรงฟันให้ทั่วอย่างถูกวิธี และใช้เส้นใยไนล่อนที่เรียกว่า เดนทอลฟลอสส์ (dental floss) หรือไหมขัดซอกฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน เท่านี้คุณก็จะยิ้มได้อย่างสดใส

ทำไมคนกินหญ้าไม่ได้ ?

วัว ควาย และม้า ล้วนแต่กินหญ้ากินฟางกันได้ ปลวกก็กินไม้ได้ แต่คนเราเห็นจะอดตายแน่ถ้าถูกบังคับให้กินแต่หญ้าแต่ฟาง แท้จริงแล้วอาหารประเภทแป้งที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ก็มีโครงสร้างทางเคมีย่อยๆเหมือนกับเซลลูโลสที่เป็นส่วนประกอบหลักของหญ้า ฟาง และไม้ คือทั้งแป้งและเซลลูโลสนั้นเป็นสายยาว ๆ ของน้ำตาลกลูโคสเหมือนกันแต่วิธีการต่อและเรียกตัวของกลูโคสแต่ละโมเลกุล ต่างกัน การย่อยแป้งและเซลลูโลสต้องอาศัยน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดพิเศษ น้ำย่อยของคนเราย่อยได้เฉพาะแป้งเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะการทำงานของน้ำย่อยต้องอาศัยรูปร่างของโมเลกุลสารที่จะถูก ย่อยด้วย ถ้าหากสารดังกล่าวมีโมเลกุลที่รูปร่างเหมาะสมกับน้ำย่อยจึงจะย่อยได้ ส่วนแป้งและเซลลูโลสโมเลกุลต่างกัน น้ำย่อยสำหรับแป้งจึงไม่อาจย่อยเซลลูโลสได้ สัตว์ที่กินหญ้า ฟาง และพืชอื่น ๆ เป็นอาหารก็ย่อยเซลลูโลสไม่ได้เช่นกัน แต่ในทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้มีจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างน้ำย่อยออกมา ย่อยเซลลูโลสให้แตกตัวเป็นกลูโคสได้ ดังนั้น สัตว์จึงได้กลูโคสจากการย่อยของจุลินทรีย์เป็นอาหาร ในขณะที่จุลินทรีย์ก็ได้อาหารและที่อยู่อันสุขสบายในทางเดินอาหารของสัตว์ นับเป็นภาวะที่ต้องพึ่งพากันอย่างเหมาะสมทีเดียว

ทำไมกระเพาะอาหารจึงไม่ย่อยตัวเอง ?

กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ย่อยอาหารทุก ชนิดที่เรารับประทาน แต่ทำไมกระเพาะถึงไม่ย่อยตัวเอง น้ำย่อยเมื่อขับออกมาจะทำลายเซลล์บริเวณกระเพาะบ้าง แต่กระเพาะก็สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้เรื่อย ๆ ในเวลาเพียง 3 วันสามารถสร้างเซลล์ได้ถึง 500,000 เซลล์ ถ้ามีน้ำย่อยในกระเพาะมากเกินไป ก็อาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ กระเพาะอาหารมีวิธีป้องกันตัวเอง โดยมีชั้นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ชั้นแกสตริกมิวโคซา มาคลุมอยู่ส่วนประกอบในน้ำย่อย มี เปปซิน เป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนกับกรดเกลือ (HCI) เอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้หลั่งผ่านชั้นมิวโคซาออกมาสู่กระเพาะ เอนไซม์เปปซินไม่ค่อยมีอันตรายนัก แต่กรดเกลือมีพิษสงมาก ถ้าเราไม่มีชั้นมิวโคซากั้นไม่ให้กรดเกลือเข้าไปถึงเซลล์ชั้นในได้แล้วล่ะก็ กระเพาะเราคงจะพังแน่ นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแอละบามา สหรัฐฯ พบว่า บนชั้นมิวโคซานั้นยังมีชั้นของคาร์โบไฮเดรตมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง แต่ยังไม่รู้ว่าชั้นนี้ป้องกันกระเพาะได้อย่างไร นอกจากนั้นยังมี พรอสตา-แกลนดินส์ (prostaglandins) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีในเซลล์มนุษย์ทั่วไป เขาพบว่าระดับของพรอสแกลนดินส์จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระดับของคาร์โบไฮเดรต ที่จะไปทำให้กรดลดความรุนแรงลง คำตอบท้ายสุดที่อาจเป็นไปได้ก็คือ ผนังของชั้นมิวโคซานั้นประกอบด้วยไขมันซึ่งไอออนของไฮโดรเจน และไอออนของคลอไรด์ไม่สามารถผ่านชั้นไขมันนี้ได้ แต่เขาพบว่าสารพวกน้ำส้มสายชู แอสไพรินน้ำส้มคั้น สารละลายสิ่งสกปรก (ที่มีอยู่ในยาสีฟันและผงซักฟอก) และสารอื่น ๆ จะไม่ถูกไอออไนซ์และสามารถซึมผ่านผนังเซลล์ของกระเพาะเข้าไปได้ ดังนั้น จึงไม่ควรดื่มน้ำส้มคั้นหรือกินยาแอสไพรินขณะที่ท้องว่างและควรกินอาหารให้ ตรงเวลา อย่างปล่อยให้ท้องว่างนาน ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของกระเพาะเราเอง                                                         link ดูทีวี รวมช่องเกษตรที่นี่

ที่มาจาก
http://members.fortunecity.com/thehexgirl/science.html

ภาพพายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อน เป็นคำทั่วๆไปที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตร ขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา (Cyclonically) ในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลม และมีความเร็วสูงที่สุด ลมที่ใกล้ศูนย์กลางมีความเร็วตั้งแต่ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (64 นอต) ขึ้นไป บางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางพาย ุโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ มีความชันของความกดอากาศ (Pressure Gradient) และความเร็วลมแรงกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical Storm) มีลักษณะอากาศร้ายติดตามมาด้วย เช่น ฝนตกหนักมากกว่าฝนปกติธรรมดาที่เกิดในเขตร้อนมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นด้วย ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในพายุแต่ละลูก ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลางหรือตาพายุ มีเมฆประเภทคิวมูลัส (Cumulus) และ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเล


 ภาพกำเนิดขึ้นของพายุ

หย่อมความกดอากาศต่ำ

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง

พายุดีเปรสชั่น

พายุโซนร้อน

พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอริเคน


แหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน

บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุดเรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
- มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
- บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
- บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"
- มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 ํ ตะวันออก เรียกว่า "ไซโคลน"
- มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่ วิลลี่"


พายุที่เกิดในส่วนต่างๆของโลก

พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด
มาตรฐานการวัดความเร็วลมในพายุ
ความ เร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรง ของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
- พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมไม่เกิน 33 นอต (61 กม./ชม.)
- พายุโซนร้อน ความเร็วลม 34 - 63 นอต (62 - 117 กม./ชม.)
- ไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม)
ขอบคุณข้อมูล จาก http://pakhinnaka.blogspot.com

เรื่องน่าสงสัยและพูดถึงกันบ่อย

CEO
(Chief Executive Officer)

CEO คืออะไร
ทุกวันนี้เราจะได้ยินคำว่า CEO บ่อยมาก ทั้งในวงการาชการ และวงการธุรกิจ CEO ย่อมาจากคำว่า Chief Executive Officer หมายถึง บุคคลที่มีอำนาจและความรับผิดชอบสูงสุดในองค์การหรือบริษัท แนวคิด CEO มาจากแนวคิดของระบบธุรกิจอเมริกัน ที่นิยมการบริหารงานที่ค่อนข้างเด็ดขาด รวดเร็ว และการตัดสินสินที่ฉับพลันไม่งุ่มง่าม เพราะในวงการธุรกิจ เต็มไปด้วยการแข่งขัน ฉกฉวยแย่งชิงโอกาส ไม่ว่าจะเป็นผลิต หรือการช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลควบคุมการใช้บุคลากรให้เต็มศักยภาพ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดนี้มีหลักที่สำคัญคือ ประธานหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารสูงสุดของบริษัท ได้รับมอบอำนาจหน้าที่จากคณะกรรมการอำนวยการ หรือบอร์ดของบริษัท ให้มีอำนาจในการจัดการ ซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการใช้อำนาจจัดการบริษัทอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากหัวหน้าฝ่ายบริหารดังกล่าวจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ บริษัท มีกำไร หรือขาดทุน มีความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่รอดขององค์การ ดังนั้นผู้ที่เป็น CEO จึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถสูง


หน้าที่หลักของ CEO คืออะไร
1.เป็นกรรมการบริหาร สนับสนุนการทำงานขององค์การ
2.รับผิดชอบด้านการออกแบบ การวางแผนตลาด การประชาสัมพันธ์ การผลิต การบริการ
3.บริหารจัดการด้านการเงิน ภาษี การจัดการความเสี่ยง
4.การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์การ
5.การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์การ
6.จัดการด้านงบประมาณเพื่อพัฒนาองค์การ

บทบาทโดยทั่วไปของ CEO มีอะไรบ้าง
1. ในฐานะผู้นำ
-เป็นผู้แทนองค์การ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในองค์การ
2. ในฐานะผู้บริหาร
-วางกลยุทธ์ สร้างวัฒนธรรมองค์การ ปกครองดูแล บริหารจัดการองค์การ
3. ในฐานะผู้ตัดสินใจ
-ตัดสินใจ แนะนำการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร นำเสนอนโยบาย
4. ในฐานะผู้จัดการ
-จัดการทรัพยากรในองค์การ ปรับปรุงแผนงาน
5. ในฐานะนักพัฒนา
-นำสิ่งใหม่มาเพื่อความเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยี ความรู้

ผู้ที่เป็น CEO ควรมีคุณลักษณะอย่างไร
1. มีความรู้ในด้านการบริหารจัดการ
2. มีภาวะผู้นำ
3. มีความรู้ด้านการวางแผน
4. มีความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์
5. มีความสมารถในการติดต่อสื่อสาร การใช้สื่อเทคโนโลยี
6. มีความสามารถด้านการเงินและงบประมาณ
7. มีความรู้ด้านบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง
8. มีความรู้ด้านการตลาด
9. มีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10. มีความสามารถในการควบคุม
11. มีความสามารถในการประเมิน
12. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
13. กล้าตัดสินใจ
14. มีคุณธรรม

ขอบคุฯข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org

ขอบคุณข้อมูล จาก Android Authority  https://www.youtube.com/watch?v=daoJ2BktV5E


 

 



แก้ไขล่าสุด (วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2021 เวลา 22:31 น.)

 
รวมลิงค์เกษตร
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ราคาน้ำมันปตท.วันนี้