มองลอดม่านไม้ไผ่ที่Beijing


ออกเดินทางจากสุวรรณภูมิประมาณ03.30น.Delay เกือบ3ชั่วโมงโดยสายการบินแอร์ไชน่าร่วมเดินทางกับอาจิว(อ.ตรีศักดิ์) คนไทยเชื้อสายจีนถึงสนามบินปักกิ่ง 07.30น.เช้าวันนี้18ตุลาคม อุณหภูมิ4-10 องศาเริ่มจะหนาวแล้ว (ต่ำที่สุดที่ปักกิ่งประมาณช่วงปีใหม่ประมาณ-20องศา)  ผ่่านขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย มีไกด์มารับที่สนามบิน  จุดแรกที่ไปคือจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งคุณจ่าว อดีตนายทหารยศพันโท ได้อธิบายให้ข้อมูล เกี่ยวกับจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง ความยาวตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ 880 เมตร ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 500 เมตร พื้นที่ทั้งสิ้น 440,000 ตารางเมตร สามารถจุประชากรได้ถึง 1,000,000 คน ปัจจุบันจัตุรัสเทียนอันเหมินนับเป็นจัตุรัสใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ล้อมรอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่ หอประตูเทียนอันเหมินที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจัตุรัส ธงแดงดาว 5 ดวงผืนใหญ่โบกสะบัดอยู่เหนือเสาธงกลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชนใจกลางจัตุรัส มหาศาลาประชาคมด้านทิศตะวันตกของจัตุรัส ตลอดจน พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีนทางฝั่ง ตะวันออก นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ยังมี หอรำลึกท่านประธานเหมาและหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน เชื่อมถึง พระราชวังกู้กง สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นทั้งบ้านและชีวิตของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ พระราชวังเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี มีชื่อในภาษาจีนว่า ‘กู้กง’ หมายถึงพระราชวังเดิม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จื่อจิ้นเฉิง’ ซึ่งแปลว่า ‘พระราชวังต้องห้าม’ เหตุที่เรียกพระราชวังต้องห้าม เนื่องมาจากชาวจีนถือคติในการสร้างวังว่า จักรพรรดิเปรียบเสมือนบุตรแห่งสวรรค์ ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงต้องเป็น ‘ที่ต้องห้าม’ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้น่าทึ่งมาก

 

ช่วงค่ำชมกายกรรมปักกิ่งทีมีชื่อเสียงก้องโลก แสดงประมาณ1 ชั่วโมง ไฮไลท์อยู่ที่มอเตอร์ไซด์5คันไต่ลูกโลกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ3เมตร

 


 

หอฟ้าเทียนถาน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ
กรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,730,000 ตารางเมตร เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิ
แห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อ
ให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่และลานหยวนชิว
 

 

สนามกีฬาโอลิมปิค รังนกออกแบบโดยสถาปนิกชาวสวิส เซอร์แลนด์ Herzog & de Meuron เดินตามรอยสนามกีฬา ชื่อดังของโลก "โคลอสเซี่ยม" พยายามให้เอื้อ อำนวยต่อสิ่ง แวดล้อม ในสนามจุได้ 91,000 ที่นั่ง ใช้จัดพิธีเปิด-ปิด การ แข่งขันโอลิมปิก 2008 มีลักษณะภายนอก คล้ายกับ "รังนก"

 

ศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณของทางการจีนที่ทุกทัวร์เข้าชม ฟังเรื่อง ราวเกี่ยวกับการแพทย์โบราณ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่ง เสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปี พร้อมรับฟังการ วินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

พระราชวังฤดูร้อน ของ พระนางซูสีไทเฮา "อี้เหอหยวน" ซึ่งเป็นอุทยานที่ใหญ่ ที่สุดของ ประเทศจีน สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 800 ปีก่อน อุทยานแห่งนี้เป็นที่ประทับ ของพระนางซูสีไทเฮา สมัยยังมีชีวิตอยู่ พระราชวังฤดูร้อน แห่งนี้จึงเปรียบเสมือนศูนย์ บัญชาการของพระนาง ทั้งยังเป็น คุกคุมขังพระจักรพรรดิ์กวางสู หลังจากที่จักรพรรดิ์กวางสู ไม่เชื่อฟังคำสั่งของพระนาง ได้ทำการปฏิรูปจีนตามข้อเสนอ ของคังอิ่วหวุย ปัจจุบันที่คุมขังจักรพรรดิ์กวางสู หรือที่เรียกว่า "หอหยก"

 


 

กำแพงเมืองจีนด่านจวีหยงกวน เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างใน สมัยพระ เจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏ ในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการ รุกรานจากมองโกลและเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพง ต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจาก มองโกเลีย และแมนจูเรีย สามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้ สำเร็จ มีความยาวทั้ง หมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย


วัดลามะ ยงเหอกง สถานที่มีความวิจิตรและได้รับการบูรณะอย่างยอดเยี่ยมที่สุดในปักกิ่ง สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1694 แต่เดิมเคยเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือองค์ชายสี่ผู้เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง ต่อมาตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ที่นี่ได้กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศิลปะแบบธิเบต นมัสการพระศรีอริยะเมตไตรยที่งดงามและสูงถึง 23 เมตร โดยเชื่อกันว่าเป็นงานแกะสลักจากไม้จันทน์เพียงชิ้นเดียว ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในศาลาหมื่นสุข ว่านฟู่เก๋อ 

 

ถนนหวังฝูจิ่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับการ ช้อปปิ้ง ที่คึกคักมากที่สุดของเมืองหลวงปักกิ่ง รวมทั้งห้าง สรรพสินค้าชื่อดังต่าง ๆ และร้านค้า ร้านอาหาร ศูนย์กลาง ความบันเทิง


 

ข้อมูลเกี่ยวกับ

สาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อการปฏิวัติการปฏิวัติซินไฮ่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (สิ้นสุดลงในปี พ.ศ2455) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของ สภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจูการสู้รบส่วนใหญ่ในสงครามกลางเมืองจีนยุติ ลงในปี พ.ศ. 2492โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ และพรรคก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือที่เรียกว่า "จีนคอมมิวนิสต์"


หรือ "จีนแดง"แผนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ล้านคนใน พ.ศ. 2509 เหมาและพันธมิตรทางการเมืองได้เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งกินเวลาจนกระทั่งเหมาถึงแก่อสัญกรรมในอีกหนึ่งทศวรรษถัดมา การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคและความกลัวสหภาพโซเวียต นำไปสู่ความวุ่นวายครั้งใหญ่ในสังคมจีน ใน พ.ศ. 2505 ช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตเลวร้ายลงมากที่สุด เหมาและโจว เอินไหล พบกับริชาร์ด นิกสันใน กรุงปักกิ่งเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแทนที่สาธารณรัฐจีน และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2519 และการจับกุมตัวแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งถูกประณามว่าเป็นผู้ที่ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าเหตุระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเติ้ง เสี่ยวผิงได้แย่งชิงอำนาจจากทายาททางการเมืองที่เหมาวางตัวไว้ หัว กั๋วเฟิง อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นประธานพรรคหรือประมุขแห่งรัฐ ในทางปฏิบัติแล้ว เติ้งเป็นผู้นำสูงสุดของ จีนในเวลานั้น อิทธิพลของเขาภายในพรรคนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้ผ่อนปรนการควบคุมเหนือชีวิตประจำวันของพลเมืองและคอมมูนถูก ยุบโดยชาวนาจำนวนมากได้รับที่ดินเช่า ซึ่งได้เป็นการเพิ่มสิ่งจูงใจและผลผลิตทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจีนจากระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วน กลางมาเป็นเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีสภาพเป็นตลาดเปิดเพิ่มมากขึ้น หรือที่บางคนเรียกว่า "ตลาดสังคมนิยม และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เรียกมันอย่างเป็นทางการว่า "สังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน" สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่4 ธันวาคม พ.ศ. 2525ในปี พ.ศ. 2532การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทางการผู้สนับสนุนการปฏิรูป หู ย่าวปัง เป็นการจุดชนวนการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวถูกปราบปรามลงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การประณามและการ ลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลจีน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน และนายกรัฐมนตรีจู หรงจี สองอดีตนายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินในช่วงคริสต์ ทศวรรษ 1990 ภายใต้การบริหารงานเป็นระยะเวลาสิบปีของทั้งสอง สมรรถนะทางเศรษฐกิจของจีนได้ช่วยยกระดับฐานะของชาวนาประมาณ150 ล้านคนขึ้นจากความยากจนและรักษาอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศไว้ที่ 11.2% ต่อปี จีนเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2544ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้น การพัฒนาประเทศ รัฐบาลจีนได้เริ่มวิตกกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้จะมีผล กระทบในด้านลบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความกังวลคือบางภาคส่วนของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหนึ่งคือช่องว่างใหญ่ระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้น ภายใต้เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดก่อนปัจจุบัน ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า จึงได้เริ่มดำเนินนโยบายเพื่อที่จะหยิบยกประเด็นปัญหา ของการแจกจ่ายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แต่ผลที่ออกมานั้นยังสามารถพบเห็นได้ ชาวนามากกว่า 40 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่ดินของตนซึ่งเป็นเหตุปกติธรรมดาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและการจลาจลกว่า 87,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2548 สำหรับประชากรส่วนใหญ่ของจีนแล้ว มาตรฐานการดำเนินชีวิตมองเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น แต่การควบคุมทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับความยากจนในชนบทปัจจุบันภายใต้การนำของผู้นำรุ่นใหม่ นายสีจิ้นผิงเป็นประธานาธิบดี และนายหลี่เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน จะดำเนินไปในทิศทางไหน โลกกำลังจับตามอง

  นี่เป็นเพียง ข้อมูลบางส่วนที่ทำให้คุณได้รู้จักประเทศจีนมากขึ้นครับ

ขอบคุณ สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด (วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2016 เวลา 22:29 น.)